ฟิลเลอร์ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้และไม่สามารถดูดซึมคืออะไร

ฟิลเลอร์ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้

  1. ฟิลเลอร์สารสังเคราะห์ ฟิลเลอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ ฟิลเลอร์กลุ่ม กรดไฮยาลูรอนิก (HA) สารชนิดนี้จะสามารถจับตัวกับน้ำและพองขึ้นเป็นเจล มีคุณสมบัติส่งผลให้ผิวหนังเต่งตึง มีอายุประมาณ 6-12 เดือน และเป็นฟิลเลอร์ชนิดเดียวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทยรับรองความปลอดภัย
  • แคลเซียมฟิลเลอร์ สารชนิดมาจากแคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทท์ (Calcium Hydroxyapatite หรือ CaHA) ฟิลเลอร์ชนิดนี้สามารถฉีดเพื่อแก้ไขเติมเต็มได้เป็นอย่างดี นอกจากการฉีดบนใบหน้าและมือแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการเติมหน้าอกและสะโพกได้อีกด้วย เนื่องจากอนุภาคของ CaHA หลังเข้าสู่ใต้ผิวจะเปลี่ยนสภาพเป็นเหมือนแคลเซี่ยมของกระดูก ผลการรักษาอยู่ได้นาน 2 ปี
  • กรดโพลี แอล แลคติก (Poly L lactic acid หรือ PLLA) คือ สารอุ้มน้ำที่มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกายและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ PLLA เป็นฟิลเลอร์ที่ได้ผลอยู่นานกว่าไฮยารูลอนิกแอซิด ให้ผลลัพธ์ยาวนานถึง 2-4 ปี
  1. ฟิลเลอร์จากร่างกายของคนไข้เอง การฉีดฟิลเลอร์ชนิดนี้มักใช้ไขมันในร่างกายของคนไข้เองมาฉีดเพื่อเติมเต็ม ปัจจุบันเรามักจะเรียกกันว่าการ ฉีดไขมัน หรือ Fat grafting อาจจะนำมาจากบริเวณต้นขา สะโพก หรือหน้าท้อง และจะมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน คือ การนำไขมันออกมาโดยวิธีการดูดไขมัน และฉีดไขมันเข้าไปยังส่วนที่ต้องการเติมเต็ม ก็สามารถทำได้ในคราวเดียวกัน

ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้ฟิลเลอร์จากไขมันตัวเองนั้นจะเป็นแบบกึ่งถาวร อาจต้องมีการฉีดหลายครั้งในช่วงแรก เนื่องจาการฉีดไขมันนั้น เป็นการปลูกถ่ายที่ย้ายไขมันจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดของร่างกาย อัตราการติดของไขมันนั้นจึงไม่ 100% และไขมันนั้นก็สามารถสลายไปได้ หากได้รับการดูแลหลังฉีดไขมันที่ไม่ถูกวิธี

ฟิลเลอร์ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึม

โพลีเมธิลเมธาไครเลต บีทส์ (Polymethylmethacrylate beats หรือ PMMA microspheres) เป็นสารเติมเต็มจำพวก ซิลิโคน หรือ พาราฟิน คือ พลาสติกสังเคราะห์ เป็นสารสังเคราะห์เช่นเดียวกับ PLLA ที่มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกาย แต่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้

ข้อเสีย คือ การเอาออกหรือไม่สามารถทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ การเอาออกเพียงทางเดียวคือต้องตัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นออกไป